ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU-BCTLC)
แมลงศัตรูธรรมชาติ
เพลี้ยไฟตัวห้ำ Karnyothrips flavipes (Jones).
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ชื่อวิทยาศาสตร์
เพลี้ยไฟตัวห้ำ Karnyothrips flavipes (Jones).
บทบาทในธรรมชาติ
แมลงตัวห้ำ หรือโดยทั่วไป เรียกว่าด้วงเต่าตัวห้ำ (Predatory Beetles)
ข้อมูลทางชีววิทยาที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
เพลี้ยไฟตัวห้ำ Aleurodothrips fasciapennis (Franklin) ซึ่งลงทำลายเพลี้ยหอยสีเขียว Coccus viridis และ เพลี้ยหอยในวงศ์ Coccidae: (ก) ตัวเต็มวัย; (ข) ตัวอ่อน; และ (ค) เพลี้ยหอยที่ลงทำลายกาแฟ.
ข้อมูลทางนิเวศวิทยาเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
แมลงศัตรูพืชที่เป็นเหยื่อของเพลี้ยไฟตัวห้ำ K. flavipes ซึ่งพบในการศึกษา ได้แก่ เพลี้ยไฟศัตรูพืชและ เพลี้ยหอยชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลี้ยหอยสีเขียว Coccus viridis ไข่ของผีเสื้อหลายชนิด ไข่และตัวอ่อนของด้วงเจาะเมล็ดกาแฟ Hypothenemus hampei เพลี้ยไฟกินใบไทร Gynaikothrips ficorum แมลงทำปม และ ไรศัตรูพืช โดยการศึกษาต่อยอด เพื่อการใช้ประโยชน์เพลี้ยไฟตัวห้ำ K. flavipes ประกอบด้วย: 8.1 การสำรวจและศึกษานิเวศวิทยาประชากร ของเพลี้ยไฟตัวห้ำ K. flavipes และแมลงที่เป็นเหยื่อ ในสภาพธรรมชาติ และ การระบุจุดบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ งานวิจัยและการศึกษาต่อยอด ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ถึง สิงหาคม 2557 เป็นผลการวิจัยสืบเนื่องจากการคัดเลือกเพลี้ยไฟตัวห้ำ K. flavipes ว่ามีความน่าที่จะเป็นไปได้ ในการเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณ เพื่อใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี จึงนำมาทำการศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และพลศาสตร์ประชากร รวมทั้งพิสัย (range) ของแมลงศัตรูพืชที่เป็นเหยื่อ โดยเน้นในพื้นที่เกษตรกรรม และ จากการสำรวจประชากรของเพลี้ยไฟตัวห้ำ K. flavipes แมลงศัตรูพืชซึ่งเป็นเหยื่อ และ พืชอาศัย โดยเน้นพืชปลูกของเกษตรกร ในสภาพธรรมชาติ ในช่วงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2557ถึง สิงหาคม 2557 รวมระยะเวลา 6 เดือนของการศึกษา รวม 6 ครั้ง ในพื้นที่ 5 จังหวัด ในภาคเหนือตอนบน (ตารางที่ 5 และ ภาพที่ 29) ทั้งในแปลงเกษตรกร และสวนไม้ประดับรวม 23 พื้นที่สำรวจ สามารถสำรวจพบและเก็บตัวอย่างเพลี้ยไฟตัวห้ำ K. flavipes เพลี้ยไฟศัตรูพืช และ แมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ จากพืชอาศัย 20 ชนิด ใน 7 วงศ์ รวม 716 ตัวอย่าง โดยเป็นเพลี้ยไฟตัวห้ำ K. flavipes รวม 31 ตัวอย่าง พบการปรากฎอยู่ของ K. flavipes ในพืชอาศัย 5 ชนิด โดยมีบทบาทเป็นแมลงตัวห้ำของแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ รวม 7 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยไฟศัตรูพืชจำนวน 3 ชนิด คือ เพลี้ยหอย Coccus viridis เพลี้ยไฟพริก Scirtothrips dorsalis และ เพลี้ยไฟไทรคิวบา Gynaikothrips ficorum และ รวมทั้ง เพลี้ยไฟแตงโม Thrips palmi เพลี้ยหอยในวงศ์ Coccidae อีก 2 ชนิด และ แมลงทำปมทั้งในอันดับ Hemiptera และ Diptera รวมทั้งอาจเป็นเพลี้ยไฟตัวห้ำของไข่และตัวอ่อนของมอดเจาะเมล็ดกาแฟ Hypothenemus hampei ซึ่งเป็นแมลงศัตรูสำคัญของกาแฟอราบิก้า ที่มีการปลูกในพื้นที่ภาคเหนืออีกด้วย
การใช้ประโยชน์ด้านการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
ยังไม่มีการเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณด้วงเต่าตัวห้ำชนิดนี้ในประเทศไทย การใช้ประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืชสามารถทำได้โดยการอนุรักษ์ด้วงเต่าตัวห้ำนี้ไว้ในแปลงปลูก แมลงอาหารที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยหอยศัตรูกาแฟ
ข้อมูลอื่นๆ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ศมาพร แสงยศ. 2558. ความหลากหลายทางชนิด และ การใช้ประโยชน์เพลี้ยไฟตัวห้ำเพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี. รายงานวิจัย. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช). 117 หน้า.
Lewis, T. 1973. Thrips their biology, ecology and economic importance. Academic Press, London. 349 pp.